หมวดศาสนศาสตร์ (Theology)
|
TH 102 หลักความเชื่อพื้นฐาน (Basic Bible Doctrines) |
2 หน่วยกิต
|
การสำรวจหลักข้อเชื่อพื้นฐานของพระคริสตธรรมคัมภีร์ เพื่อช่วยให้นักศึกษาเห็นภาพรวมของพื้นฐานทางศาสนศาสตร์ของคริสเตียน วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อหลักข้อเชื่อของคริสตจักรในกลุ่มเพ็นเทคอส |
TH 104พระเจ้าและพระคัมภีร์ (Theology Proper and Bibliology) |
3 หน่วยกิต
|
การศึกษาหลักศาสนศาสตร์เกี่ยวกับพระคริสตธรรมคัมภีร์ในฐานะพระวจนะของพระเจ้า ตลอดจนกระทั่งพระลักษณะและพระราชกิจของพระเจ้า โดยจะครอบคลุมถึงเรื่องการสำแดง, การดลใจ, สิทธิอำนาจของพระคริสตธรรมคัมภีร์ พระลักษณะของพระเจ้า, การทรงสร้างและการจัดเตรียมของพระเจ้า วิชานี้จะให้ความสนใจในการค้นหาความเข้าใจของคนในวัฒนธรรมไทยต่อเรื่องพระเจ้า และแนวทางในการสื่อสารหลักศาสนศาสตร์เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพในวัฒนธรรมไทยด้วย
|
*TH 202/502 พระวิญญาณบริสุทธิ์ (Pneumatology) |
3 หน่วยกิต
|
การศึกษาหลักศาสนศาสตร์เรื่องพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องความเป็นบุคคล, ความเป็นพระเจ้า, พระราชกิจ, ของประทานและผลของพระวิญญาณ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษในการทำความเข้าใจเรื่องการรับบัพติศมาด้วยพระวิญญาณและการพูดภาษาแปลกๆ ในฐานะเป็นหลักฐานยืนยันถึงประสบการณ์ดังกล่าว ตลอดจนกระทั่งแนวทางในการช่วยผู้เชื่ออื่นให้ได้รับประสบการณ์นี้
|
*TH 204/504 มนุษย์และความบาป (Anthropology and Hamartiology) |
3 หน่วยกิต
|
การศึกษาหลักศาสนศาสตร์เรื่องมนุษย์และความบาป โดยจะครอบคลุมถึงเรื่องจุดกำเนิดของมนุษย์, พระฉายาของพระเจ้าในมนุษย์, องค์ประกอบของมนุษย์ , ธรรมชาติของความบาป , จุดกำเนิดและผลของความบาป, ความบาปเดิมและความบาปของบุคคล วิชานี้จะให้ความสนใจต่อการเปรียบเทียบหลักศาสนศาสตร์เหล่านี้กับทัศนะเรื่องมนุษย์ , ความบาป และกฎแห่งกรรมในความเข้าใจของคนในวัฒนธรรมไทย เพื่อค้นหาแนวทางในการสื่อสารหลักศาสนศาสตร์เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพในวัฒนธรรมไทย
|
TH 302 พระคริสต์และความรอด (Christology and Soteriology) |
3 หน่วยกิต
|
การศึกษาหลักศาสนศาสตร์เรื่องพระเยซูคริสต์ และพระราชกิจของพระเยซูคริสต์ ตลอดจนกระทั่งเรื่องความรอดของผู้เชื่อ โดยจะครอบคลุมถึงเรื่องธรรมชาติความเป็นพระเจ้า และความเป็นมนุษย์ของพระคริสต์ , การบังเกิดจากหญิงพรหมจารี,การไถ่บาป , การเลือกสรรและการทรงเรียก , การกลับใจใหม่และความเชื่อ,การบังเกิดใหม่ ,การนับว่าเป็นคนชอบธรรม, การรับเป็นบุตร , การชำระให้บริสุทธิ์ , การพากเพียร และการรับสง่าราศี วิชานี้จะให้ความสนใจต่อการเปรียบเทียบหลักศาสนศาสตร์เหล่านี้กับทัศนะเรื่องพระผู้มาโปรด และการหลุดพ้นในความเข้าใจของคนในวัฒนธรรมไทย เพื่อหาแนวทางในการสื่อสารหลักศาสนศาสตร์เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพในวัฒนธรรมไทย
|
*TH 304/514 จริยธรรมคริสเตียน (Christian Ethics) |
3 หน่วยกิต
|
การศึกษาหลักการพื้นฐานของพระคริสตธรรมคัมภีร์ เกี่ยวกับการตัดสินใจทางด้านจริยธรรม อันจะเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาคุณลักษณะชีวิตของตนเอง และเป็นแนวทางในการตัดสินใจในเรื่องจริยธรรมในชีวิตประจำวัน วิชานี้จะให้ความสนใจต่อการอภิปรายปัญหาจริยธรรมต่างๆ ที่คริสเตียนประสบในสังคมไทยในปัจจุบัน
|
TH 306 คริสตจักรและอวสานศาสตร์ (Ecclesiology and Eschatology) |
3 หน่วยกิต
|
การศึกษาหลักศาสนศาสตร์เรื่องคริสตจักรและอวสานศาสตร์ โดยจะครอบคลุมถึงเรื่องความหมาย, ระบบการปกครอง, พิธีศีล, บทบาทและภารกิจของคริสตจักร, สภาวะหลังความตาย , การเสด็จกลับมาของพระเยซู , การเป็นขึ้นมาจากความตาย, ยุคเข็ญและยุคพันปี, การพิพากษาครั้งสุดท้ายและสภาวะนิรันดร์ของมนุษย์ วิชานี้จะให้ความสนใจต่อการเปรียบเทียบหลักศาสนศาสตร์เหล่านี้กับความเชื่อที่คล้ายคลึงกันในวัฒนธรรมไทย เพื่อหาแนวทางในการสื่อสารหลักศาสนศาสตร์เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพในวัฒนธรรมไทย
|
TH 402 หลักฐานความเชื่อคริสเตียน (Apologetics) |
2 หน่วยกิต
|
การศึกษาเพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการปกป้องความเชื่อของคริสเตียนในท่ามกลางการจู่โจมจากโลกทรรศน์แบบต่างๆในสังคมไทยในปัจจุบัน วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการทำความคุ้นเคยกับแนวทางต่างๆ ที่คริสเตียนทั้งในอดีตและในปัจจุบันได้ใช้เพื่อปกป้องความเชื่อของพวกเขา ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและเหตุผล , หลักฐานประเภทต่างๆ ตลอดจนการค้นหาคำตอบที่เหมาะสมต่อคำถามที่มักจะพบในสังคมไทย
|
TH 404/604 นานาลัทธิและแนวคิดร่วมสมัย (Cults & Contemporary Philosophy) |
2 หน่วยกิต
|
การศึกษาเกี่ยวกับลัทธิเทียมเท็จต่างๆ และที่สำคัญในประเทศไทยเพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างความเชื่อของคริสเตียนและความเชื่อของลัทธิเหล่านี้ โดยจะครอบคลุมถึงจุดกำเนิด, คัมภีร์, ผู้นำ, สถาบัน, หลักข้อเชื่อ ปรัชญา และแนวคิดร่วมสมัย ตลอดจนการพิจารณาแนวทางในการสื่อสารพระกิตติคุณแก่สาวกในลัทธิเหล่านี้ด้วย
|
TH503 ศาสนศาสตร์การเป็นผู้ช่วย (Second Man Theology) |
3 หน่วยกิต
|
การศึกษาหลักการในพระคัมภีร์เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของผู้ช่วย รวมถึงมุมมองของพระวจนะของพระเจ้าที่มีต่อการรับใช้ในฐานะเป็นผู้ช่วย วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการปัญหารับใช้ของผู้ช่วยในบริบทของคริสตจักร ความเข้าเรื่องสิทธิอำนาจฝ่ายวิญญาณ รวมทั้งการดึงหลักการภาคปฏิบัติจากผู้ช่วยในพระคัมภีร์มาประยุกต์ใช้กับการเป็นผู้ช่วยในบริบทของคริสตจักรในยุคศตวรรษที่ 21
|
TH508 ศาสนศาสตร์การนมัสการในคริสตจักร |
3 หน่วยกิต
|
–
|
TH509 วิธีการทำวิจัยด้านศาสนศาสตร์ |
3 หน่วยกิต
|
–
|
TH511 ศาสนศาสตร์เพ็นเทคอสประยุกต์ (เอเชีย)[Applied Pentecostal Theology (Asia)] |
3 หน่วยกิต
|
วิชานี้ตรวจสอบประเด็นสำคัญๆ ในปัจจุบันด้านศาสนศาสตร์ และพันธกิจวิทยาเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการเพ็นเทคอสและคาริสแมติกระดับโลก หนังสือสำคัญทั้งจากภายในและภายนอกขบวนการเหล่านี้ ทั้งที่เห็นด้วยและที่วิพากษ์ ควรได้รับการระบุ เพื่อให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการโต้แย้งในปัจจุบันในเรื่องความเชื่อแบบเพ็นเทคอส คุณประโยชน์ที่คณะเพ็นเทคอสมีต่อการกำหนดรูปแบบของศาสนาในศตวรรษที่ 21 ควรได้รับการตรวจสอบด้วยประเด็นอื่นๆ ที่จะศึกษา คือ ความเข้าใจพันธกิจ และการเผยแพร่ข่าวประเสริฐแบบเพ็นเทคอส, ประเด็นและการท้าทายในปัจจุบันสำหรับอนาคต, หลักการตีความหมาย, ข่าวประเสริฐ และบริบทของโลกที่สาม, ศาสนศาสตร์พระวิญญาณบริสุทธิ์ “หลักฐานเบื้องต้น”, ของประทานฝ่ายวิญญาณ
|
*TH 601/501 ศาสนศาสตร์พันธกิจ (Theology of Missions) |
3 หน่วยกิต
|
การศึกษารากฐานทางพระคริสตธรรมคัมภีร์และทางศาสนศาสตร์สำหรับงานพันธกิจ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเรื่องการทรงเรียกของอับราฮัม และบทบาทของชนชาติอิสราเอลในพันธกิจของพระเจ้า, พระมหาบัญชาของพระเยซูคริสต์ งานพันธกิจในพระธรรมกิจการ และบทบาทขององค์พระวิญญาณบริสุทธิ์ต่องานพันธกิจ
|
TH602 ศาสนศาสตร์เรื่องการอธิษฐาน (Theology of Prayer) |
2 หน่วยกิต
|
ศึกษาคำสอนเกี่ยวกับการติดต่อระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ทั้งในพระคัมภีร์เดิมและใหม่ และวางหลักการเกี่ยวกับการอธิษฐานในที่ประชุมและส่วนตัว
|
TH 603 วิชาพิเศษ |
1-3 หน่วยกิต
|
ในบางโอกาส พ.พ.ท.อาจจัดให้มีการสอนวิชาบางอย่างที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการรับใช้ของนักศึกษา โดยที่วิชาดังกล่าวไม่ได้ปรากฏอยู่ในหลักสูตรหมวดศาสนศาสตร์ของ พ.พ.ท. วิชาต่างๆ ที่มีการจัดสอนในลักษณะนี้จะต้องถือปฏิบัติตามระเบียบด้านวิชาการของ พ.พ.ท. อย่างเคร่งครัดทุกประการ
|
TH605 ศาสนศาสตร์พระคัมภีร์เดิม (Old Testament Theology) |
3 หน่วยกิต
|
วิชานี้สอนให้ผู้เรียนศึกษาว่าพระเจ้าได้ทรงสำแดงพระองค์เองให้แก่มนุษย์ สร้างความสัมพันธ์กันโดยทางพันธสัญญา และศึกษาถึงพันธสัญญาเดิมที่มีต่อบรรพบุรุษ คือ โนอาห์ อับราฮาม โมเสส ดาวิด และเยเรมีย์
|
TH606 ศาสนศาสตร์พระคัมภีร์ใหม่ (New Testament Theology) |
3 หน่วยกิต
|
วิชานี้สอนให้ผู้เรียนศึกษาถึงเรื่องที่พระเจ้าได้ทรงสำแดงพระองค์เองให้แก่มนุษย์โดยทางพระเยซูคริสต์ และทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ผ่านผู้รับใช้ของพระเจ้า ซึ่งเรียกว่าพันธสัญญาใหม่
|
|
|
*BB 102/502 สำรวจพันธสัญญาเดิม (Old Testament Survey) |
3 หน่วยกิต
|
การสำรวจพระธรรมทั้ง 39 เล่มของภาคพันธสัญญาเดิม เพื่อทำความเข้าใจกับเนื้อหาสำคัญของพระธรรมแต่ละเล่ม วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องกาลเวลากึ่งกลางระหว่างพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่, การรวมตัวของหนังสือบรรทัดฐานภาคพันธสัญญาเดิม , ภูมิศาสตร์สำคัญของพันธสัญญาเดิม และการลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
|
*BB 104/504 สำรวจพันธสัญญาใหม่ (New Testament Survey) |
3 หน่วยกิต
|
การสำรวจพระธรรมทั้ง 27 เล่มของพันธสัญญาใหม่ เพื่อทำความเข้าใจกับเนื้อหาสำคัญของพระธรรมแต่ละเล่ม วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องช่วงเวลากึ่งกลางระหว่างพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่, การรวมตัวของหนังสือบรรทัดฐานภาคพันธสัญญาใหม่ , ภูมิศาสตร์สำคัญของพันธสัญญาใหม่และการลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
|
BB 106 ปฐมกาล ( Genesis) |
2 หน่วยกิต
|
การศึกษาเนื้อหาของพระธรรมปฐมกาลด้วยการคำนึงถึงพื้นหลังทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของชาติต่างๆในตะวันออกใกล้โบราณ ตลอดจนกระ ทั่งการค้นพบต่างๆ ทางโบราณคดี วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องพันธสัญญาที่พระเจ้าทรงทำกับบรรดาอัครปิตา และการประยุกต์เนื้อหาของพระธรรมเล่มนี้มาใช้ในปัจจุบัน
|
BB 108 วิธีศึกษาพระคัมภีร์ (Inductive Bible Study) |
2 หน่วยกิต
|
การศึกษาแนวทางและขั้นตอนต่างๆ ในการศึกษาพระคริสตธรรมคัมภีร์ส่วนตัวอย่างสัมฤทธิ์ผล โดยเน้นที่การศึกษาแบบอุปนัย เพื่อพัฒนาอุปนิสัยทักษะและประสบการณ์ของนักศึกษาในการศึกษาพระคริสตธรรมคัมภีร์ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องกัน วิชานี้จะให้ความสนใจต่อการทำความคุ้นเคยและการฝึกใช้คู่มือประเภทต่างๆในการศึกษาส่วนตัวด้วย
|
BB 202 ชีวประวัติพระเยซูคริสต์ (Life of Christ) |
3 หน่วยกิต
|
การศึกษาเกี่ยวกับพระชนม์ชีพ, พระราชกิจ และพระดำรัสสอนของพระเยซูเจ้าตามที่ปรากฏอยู่ในพระกิตติคุณทั้งสี่ ด้วยการคำนึงถึงพื้นหลังทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของแผ่นดินปาเลสไตน์ในศตวรรษที่หนึ่งแห่งคริสตกาล วิชานี้จะให้ความสนใจต่อการเรียงลำดับเหตุการณ์ในพระกิตติคุณทั้งสี่ให้ต่อเนื่องกันด้วย
|
BB 204 อพยพ – เฉลยธรรมบัญญัติ (Exodus – Deuteronomy) |
3 หน่วยกิต
|
การศึกษาเนื้อหาของพระธรรมอพยพถึงเฉลยธรรมบัญญัติ ด้วยการคำนึงถึงพื้นหลังทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในตะวันออกใกล้โบราณ ตลอดจนการค้นพบต่างๆทางโบราณคดี วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องธรรมบัญญัติ, ศาสนพิธีและเทศกาลต่างๆ ตลอดจนกระทั่งเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางรอนแรมในถิ่นทุรกันดารของคนอิสราเอล และการประยุกต์เนื้อหาของพระธรรมเหล่านี้มาใช้ในปัจจุบัน
|
*BB 206/506 หลักการตีความหมายพระคัมภีร์ (Biblical Hermeneutics) |
3 หน่วยกิต
|
การศึกษาหลักการเบื้องต้นในการตีความหมายพระคริสตธรรมคัมภีร์ อย่างถูกต้องโดยครอบคลุมถึงหลักการทั่วไป และหลักการพิเศษในการตีความหมาย วิชานี้จะให้ความสนใจต่อการทำความคุ้นเคยกับรูปแบบวรรณกรรมประเภทต่างๆ ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ด้วย นักศึกษาจะมีโอกาสได้ฝึกหัดการตี ความหมายตามหลักการที่ได้เรียนไป
|
BB 208 กิจการ (Acts of the Apostles) |
2 หน่วยกิต
|
การศึกษาเนื้อหาของพระธรรมกิจการ โดยคำนึงถึงพื้นหลังทางภูมิศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนาของคริสตจักรยุคแรกทั้งในและนอกแผ่นดินปาเลสไตน์ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อบทบาทขององค์พระวิญญาณบริสุทธิ์ อัครทูตเปโตรและอัครทูตเปาโลต่อการขยายตัวของคริสตจักรยุคแรก ตลอดจนแนวทางในการเผยแพร่พระกิตติคุณของคริสตจักรยุคแรกและการประยุกต์เอาแนวทางเหล่านี้มาใช้ในวัฒนธรรมไทยในปัจจุบันด้วย
|
BB 210 โยชูวา – เนหะมีย์ (Joshua – Nehemiah) |
|
การศึกษาประวัติศาสตร์ของชนชาติอิสราเอลในพันธสัญญาเดิม ตั้งแต่สมัยของโยชูวาจนถึงสมัยของเนหะมีย์โดยคำนึงถึงพื้นหลังทางประวัติศาสตร์ทั่วไป , ศาสนา , วัฒนธรรมและวรรณกรรม เพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจเหตุการณ์สำคัญต่างๆในช่วงเวลาดังกล่าว วิชานี้จะให้ความสนใจต่อการประยุกต์เนื้อหาในพระธรรมหมวดนี้มาใช้ในชีวิตคริสเตียนในสังคมไทยในปัจจุบันด้วย
|
BB 302 กวีนิพนธ์ (Poetical Books) |
|
การศึกษาพระธรรมโยบถึงเพลงซาโลมอนด้วยการคำนึงถึงรูปแบบทางวรรณกรรมของพระธรรมแต่ละเล่มในหมวดนี้ และพื้นหลังทางวัฒนธรรม วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องฉันทลักษณ์ของบทกวีฮีบรู , ขบวนการปัญญาในอิสราเอลและการประยุกต์เนื้อหาของพระธรรมหมวดนี้มาใช้ในชีวิตคริสเตียนในสังคมไทยในปัจจุบันด้วย
|
BB 304 โรม – กาลาเทีย (Romans – Galatians) |
|
การวิเคราะห์เนื้อหาของจดหมายโรมและกาลาเทีย ด้วยการคำนึงถึงพื้นหลังทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม วิชานี้จะให้ความสนใจต่อหลักศาสนศาสตร์ที่สำคัญของอัครทูตเปาโล ตลอดจนกระทั่งคำสอนของเปาโลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผู้เชื่อต่อองค์พระวิญญาณบริสุทธิ์ ต่อรัฐบาล และต่อผู้เชื่อด้วยกัน
|
BB 306 ผู้เผยพระวจนะใหญ่ (Major Prophets) |
|
การศึกษาเนื้อหาของพระธรรมอิสยาห์, เยเรมีย์, บทเพลงคร่ำครวญและเอเสเคียล ด้วยการคำนึงถึงพื้นหลังทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของพระธรรมทั้งสี่เล่มนี้ วิชานี้จะศึกษาใจความสำคัญของพระธรรมแต่ละเล่ม และจะวิเคราะห์พระธรรมบางตอนที่เป็นหัวใจสำคัญของเล่มนั้นๆ เพื่อเป็นต้นแบบในการศึกษาและประยุกต์มาใช้แก่นักศึกษา อีกทั้งจะให้ความสนใจในการศึกษาชีวิต และงานของผู้เผยพระวจนะแต่ละคนด้วย
|
BB 402 ดาเนียล – วิวรณ์ (Daniel – Revelation) |
|
การศึกษาเนื้อหาของพระธรรมดาเนียลและวิวรณ์ทั้งในเชิงวิเคราะห์และในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจแผนการของพระเจ้า สำหรับคริสตจักร คนยิวและโลกดียิ่งขึ้น วิชานี้จะให้ความสนใจต่อการทำความเข้าใจวิธีการตีความหมายแบบต่างๆต่อพระธรรมทั้งสองเล่มนี้, ความสัมพันธ์ระหว่างพระธรรมทั้งสองต่อกัน, ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆและการประยุกต์เนื้อหาของพระธรรมทั้งสองนี้มาใช้ในการดำเนินชีวิตคริสเตียนในสังคมไทยในปัจจุบันด้วย
|
*BB 601/501 เบื้องหลังพระคัมภีร์ (Bible Backgrounds) |
|
การศึกษาพื้นหลังด้านภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ของเนื้อหาในพระคริสตธรรมคัมภีร์ เพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องราวในพระวจนะของพระเจ้าชัดเจนยิ่งขึ้น วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเรื่องผลกระทบทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ต่อเหตุการณ์ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ด้วย
|
BB 603 ยอห์น (John) |
|
การวิเคราะห์เนื้อหาของพระกิตติคุณยอห์น ด้วยการคำนึงถึงพื้นหลังทางวัฒนธรรม, ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเรื่องลักษณะที่เป็นเอกเทศของพระกิตติคุณเล่มนี้ซึ่งต่างจากพระกิตติคุณสัมพันธ์ คำสอนของพระเยซูที่ห้องชั้นบน และบทบาทของหมายสำคัญในพระชนม์ชีพของพระเยซูคริสต์เจ้า
|
*BB 605/505 ธรรมสารศิษยาภิบาล (Pastoral Epistles) |
|
การวิเคราะห์เนื้อหาของพระธรรม 1,2 ทิโมธี และทิตัส โดยคำนึงถึงพื้นหลังทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของเมืองเอเฟซัส และเกาะครีต ตลอดจนคริสตจักรในเมืองทั้งสองด้วย วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเรื่องงาน และชีวิตของผู้รับใช้พระเจ้า
|
BB 607 ธรรมสารจากเรือนจำ (Prison Epistles) |
|
การวิเคราะห์เนื้อหาของพระธรรมเอเฟซัส ฟิลิปปี โคโลสีและฟิเลโมนโดยคำนึงถึงพื้นหลังทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และปัญหาที่อยู่เบื้องหลังพระธรรมแต่ละฉบับ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการทำความเข้าใจหลักคำสอน และหลักการดำเนินชีวิตคริสเตียนในพระธรรมหมวดนี้
|
BB 609 ผู้เผยพระวจนะน้อย (Minor Prophets) |
|
การวิเคราะห์เนื้อหาของพระธรรมเอเฟซัส ฟิลิปปี โคโลสีและฟิเลโมนโดยคำนึงถึงพื้นหลังทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และปัญหาที่อยู่เบื้องหลังพระธรรมแต่ละฉบับ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการทำความเข้าใจหลักคำสอน และหลักการดำเนินชีวิตคริสเตียนในพระธรรมหมวดนี้
|
BB 611 ธรรมสารฝากทั่วไป (General Epistles) |
|
การวิเคราะห์เนื้อหาของพระธรรมยากอบถึงพระธรรมยูดา โดยคำนึงถึงพื้นหลังทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของพระธรรมแต่ละเล่ม เพื่อนำเอาหลักคำสอน และหลักการปฎิบัติในพระธรรมเหล่านี้ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตคริสเตียนในสังคมไทยในปัจจุบัน
|
*BB 613/513 1-2 โครินธ์ ( 1-2 Corinthians) |
|
การวิเคราะห์เนื้อหาของพระธรรม 1 และ 2 โครินธ์ ด้วยการคำนึงถึงพื้นหลังทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเมืองและของคริสตจักรที่เมืองนั้น วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่คริสตจักรโครินธ์ตลอดจนคำแนะนำของอัครทูตเปาโลในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และลักษณะชีวิตของผู้รับใช้ที่พระเจ้าทรงพอพระทัย เพื่อหาหลักการที่สามารถประยุกต์มาใช้กับคริสตจักรไทยในปัจจุบันได้
|
BB 615 ฮีบรู (Hebrews) |
|
การวิเคราะห์โครงสร้างและเนื้อหาของพระธรรมฮีบรู โดยคำนึงถึงพื้นหลังทางประวัติศาสตร์ , ศาสนาและวัฒนธรรม วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษในการทำความเข้าใจพระคริสตศาสตร์ในพันธสัญญาเดิม การอ้างอิงเนื้อหาในพันธสัญญาเดิมของผู้เขียน และคุณค่าของพระธรรมเล่มนี้ต่อชีวิตคริสเตียน และคริสตจักรไทยในปัจจุบัน
|
BB 617 1-2 เธสะโลนิกา (1-2 Thessalonians) |
|
การวิเคราะห์โครงสร้างและเนื้อหาของพระธรรม 1-2 เธสะโลนิกา โดยคำนึงถึงพื้นหลังทางประวัติศาสตร์, ศาสนาและวัฒนธรรมของเมืองเธสะโลนิกาและคริสตจักรในเมืองนั้น วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเรื่องการเสด็จกลับมาของพระเยซูเจ้า และท่าทีที่สมดุลในการรอคอยการกลับมาของพระองค์
|
BB 619 ภาษากรีก 1 (Greek I) |
|
การศึกษาหลักไวยากรณ์เบื้องต้นของภาษาคอยเนกรีก ซึ่งเป็นภาษากรีกในพันธสัญญาใหม่ โดยมุ่งให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆในการสะกดคำ, การออกเสียง, การผันคำและวากยสัมพันธ์เบื้องต้นของคำในประโยค นักศึกษาจะได้พัฒนาเพิ่มพูนคำศัพท์ภาษากรีกด้วย
|
BB 621 ภาษากรีก 2 (Greek II) |
|
เหมือน BB 619
|
BB620 อิสยาห์ (Isaiah) |
|
ศึกษาหนังสืออิสยาห์ทั้งการตีความหมาย และศาสนศาสตร์ นักศึกษาจะได้รับโครงร่างโดยละเอียดของหนังสือเล่มนี้ และเรียนรู้วิธีการศึกษาพระคัมภีร์แบบต่างๆ
|
*BB 623/523 คำอุปมาของพระเยซู (Parables of Christ) |
|
การศึกษาคำอุปมาของพระเยซูคริสต์ตามที่ปรากฏในหนังสือพระกิตติคุณ ด้วยการคำนึงถึงพื้นหลังทางวัฒนธรรมในแผ่นดินปาเลสไตน์ในศตวรรษที่ 1 แห่งคริสตกาล วิชานี้จะให้ความสนใจต่อการพัฒนาทักษะของนักศึกษาในการตีความหมายคำอุปมา และการประยุกต์วิธีการสอนเช่นนี้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในสังคมไทยในปัจจุบัน
|
BB 625 วิชาพิเศษ |
|
ในบางโอกาส พ.พ.ท. อาจจัดให้มีการสอนวิชาบางอย่างที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการรับใช้ของนักศึกษา โดยที่วิชาเหล่านั้นไม่ได้ปรากฎอยู่ในหลักสูตรหมวดพระคริสตธรรมคัมภีร์ของพ.พ.ท. วิชาต่างๆ ที่มีการจัดสอนในลักษณะนี้จะต้องถือปฎิบัติตามระเบียบด้านวิชาการของ พ.พ.ท. อย่างเคร่งครัดทุกประการ
|
|
หมวดพันธกิจคริสตจักร (Ministry)
|
MN 102 รากฐานชีวิตคริสเตียน (Foundation of Christian Living) |
|
การศึกษาหลักการพื้นฐานของการเจริญเติบโตทางฝ่ายวิญญาณจิตและคุณลักษณะของชีวิตคริสเตียนที่มีวินัยและเกิดผล เนื้อหาวิชาจะครอบคลุมถึงเรื่องการอธิษฐาน, การนมัสการส่วนตัว, ความเชื่อฟังต่อพระเจ้า, การถืออดอาหาร การสังเกตน้ำพระทัยของพระเจ้า, การมีประสบการณ์ส่วนตัวกับพระเจ้า, การเป็นผู้อารักขาที่ดี และการดำเนินชีวิตที่ไวต่อการนำขององค์พระวิญญาณ วิชานี้จะเน้นการพัฒนาอุปนิสัยในการเฝ้าเดี่ยวส่วนตัวอย่างมีระเบียบ และสัมฤทธิ์ผลเป็นพิเศษ
|
*MN 104/504 การเป็นพยานระบบเซลล์ (Personal Evangelism) |
|
การศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการเป็นพยานส่วนตัว และการติดตามผลผู้เชื่อใหม่ ตามแนวการเผยแพร่พระกิตติคุณทวีคูณ 3 (EE 3)นักศึกษาจะใช้เวลา 15 ชั่วโมงในการฟังคำบรรยายจากอาจารย์ผู้สอนและฝึกการเป็นพยาน และใช้เวลาอีก 45 ชั่วโมงในการปฏิบัติจริงนอกชั้นเรียนภายใต้การนำและการประเมินผลของอาจารย์ผู้สอน
|
MN 106 การนำนมัสการ (Leading Worship) |
|
การศึกษาองค์ประกอบต่างๆซึ่งก่อให้เกิดการนมัสการอย่างมีความหมาย ตลอดจนรูปแบบและวิธีการนำ เพื่อพาที่ประชุมเข้าสู่บรรยากาศการนมัสการ เนื้อหาของวิชานี้จะครอบคลุมถึงความหมายของการนมัสการ, ความสำคัญและบทบาทของดนตรีต่อการนมัสการ , การเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อนำนมัสการ และการสังเกตการเคลื่อนไหวขององค์พระวิญญาณในที่ประชุม นักศึกษาจะมีโอกาสได้ฝึกฝนทักษะการนำนมัสการในเชิงปฏิบัติ ภายใต้การดูแลและการประเมินผลของอาจารย์ผู้สอนด้วย
|
*MN 108/518 การเลือกคู่ครองและครอบครัวคริสเตียน (Christian Family) |
|
การศึกษาเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวคริสเตียนจากแง่มุมของพระคริสตธรรมคัมภีร์,จิตวิทยาและกฎหมาย โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงหลักการเลือกคู่ครอง,การสมรส, ความสัมพันธ์ของบุคคลต่าง ๆในครอบครัว, การจัดลำดับความสำคัญของครอบครัว, การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยา, การฝึกฝน และการสร้างวินัยแก่บุตรหลาน ตลอดจนกระทั่งพันธกิจของคริสตจักรในการ สนองตอบความต้องการของครอบครัว และความรู้เบื้องต้นทางกฎหมายไทยเกี่ยวเนื่องกับการสมรสและครอบครัว
|
*MN 202/502 หลักการเทศนา 1 (Homiletics 1) |
|
การศึกษารูปแบบและขั้นตอนในการเตรียมคำเทศนาแบบตามหัวเรื่อง(topical) และแบบตามข้อพระธรรม (textual) วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องมารยาทที่ธรรมาสน์, การใช้เสียงและท่าทางประกอบการเทศนาตลอดจน วิธีการเชิญชวนให้ผู้ฟังสนองตอบ นักศึกษาจะมีโอกาสได้ฝึกหัดเทศนาภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ผู้สอนด้วย
|
*MN 204/514 หลักการเทศนา 2 (Homiletics 2) |
|
การศึกษารูปแบบและขั้นตอนในการเตรียมคำเทศนาแบบอรรถาธิบาย(expository) วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องการวางแผนการเทศนาตลอดทั้งปีและการเทศนาในโอกาสพิเศษต่างๆ นักศึกษาจะมีโอกาสได้ฝึกหัดเทศนาภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ผู้สอนด้วย
|
MN 206 การสร้างสาวก (Discipleship Training) |
|
การศึกษาหลักการและแนวทางการปฏิบัติในการฝึกฝนให้สมาชิกใน คริสตจักรเติบโตขึ้นสู่วุฒิภาวะฝ่ายวิญญาณ และดำรงชีวิตอย่างสาวกของพระเยซูคริสต์ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษในการช่วยผู้เรียนให้มีประสบการณ์ในการเป็นสาวก และการแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่องานสร้างสาวกในคริสตจักรด้วย
|
MN 208 พันธกิจเด็ก (Children Ministry) |
|
การศึกษาลักษณะและความต้องการของเด็กในบริบทของสังคมไทย เพื่อค้นหาหลักการและวิธีการในการทำงานเด็กอย่างเกิดผล วิชานี้จะให้ความสนใจ ต่อเรื่องพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก, การประกาศพระกิตติคุณกับเด็ก, การเลี้ยงดูฟูมฟักเด็กให้เติบโตขึ้นในความเชื่อและการปฎิบัติตนอย่างคริสเตียน ตลอดจนกระทั่งการทำงานด้านคริสตจักรเด็กด้วย
|
MN 210 หมายสำคัญและการอัศจรรย์ (Signs and Wonders) |
|
การศึกษาเรื่องปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ ทั้งจากเนื้อหาในพระคริสตธรรมคัมภีร์และจากประสบการณ์คริสเตียน เพื่อค้นหาหลักการปฏิบัติที่สมดุลในการรับใช้พระเจ้าในด้านนี้ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเรื่องการพัฒนาและการใช้ของประทานในเชิงปฏิบัติ, การรักษาโรค , การขับผี การทำสงครามฝ่ายวิญญาณ , การบำบัดภายใน และการปลดปล่อย
|
MN 302 วัฒนธรรมไทยและความเชื่อคริสเตียน (Thai Culture and Christian Faith) |
|
การศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยที่สำคัญ ๆ ในบริบทของหลักคำสอนของพระคริสตธรรมคัมภีร์ เพื่อปูแนวทางอันเหมาะสมในการปฏิบัติตนและในการนำคริสตจักร วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเรื่องความหมายและอิทธิพลของศาสนาต่อวัฒนธรรมไทย, การใช้วัฒนธรรมไทยเป็นสื่อในการประกาศพระกิตติคุณ และการพัฒนาแนวทางในการวินิจฉัยประเพณีเฉพาะถิ่นด้วย
|
MN 304 การบริหารงานคริสตจักร (Church Administration) |
|
การศึกษาหลักการต่างๆในการวางแผน, การจัดระบบระเบียบและการดำเนินงานด้านต่างๆในคริสตจักรท้องถิ่น วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเรื่องงานด้านธุรการ และการเงินของคริสตจักร ตลอดจนงานด้านการประชาสัมพันธ์คริสตจักร
|
MN 306 หลักศิษยาภิบาล (Pastoral Ministry) |
|
การศึกษางานและบทบาทต่างๆของศิษยาภิบาลในฐานะผู้นำฝ่ายวิญญาณของคริสตจักรท้องถิ่นต่อพระเจ้า, ตนเอง, ครอบครัว, คริสตจักรและสังคมทั่วไป วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคริสตจักรและองค์การต่างๆ ,การดำเนินการประชุมคณะธรรมกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และการช่วยนักศึกษาในการพัฒนาปรัชญาการรับใช้ที่สมดุล นักศึกษาจะมีโอกาสได้ฝึกฝนการประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ ภายใต้การควบคุมดูแล และการประเมินผลของอาจารย์ผู้สอนด้วย
|
MN 308 พันธกิจอนุชน (Youth Ministry) |
|
การศึกษาลักษณะและความต้องการของอนุชนในบริบทของสังคมไทย เพื่อค้นหาหลักการและวิธีการในการทำงานกับอนุชนอย่างเกิดผล วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องการพัฒนาการด้านต่างๆ , การประกาศพระกิตติคุณกับอนุชน และปัญหาที่อนุชนกำลังประสบในสังคมไทย นักศึกษาจะมีโอกาสทำความคุ้นเคยกับหน่วยงานและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานด้านนี้ด้วย
|
MN 310 แนะนำงานพันธกิจ (Introduction to Missions) |
|
การศึกษาพื้นฐานเบื้องต้นของความรับผิดชอบของคริสเตียนต่องานพันธกิจตลอดจนกระทั่งการทรงเรียก, การเตรียมตัวและการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเป็นมิชชันนารี วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องยุทธวิธีในการส่งเสริมงานพันธกิจในคริสตจักรท้องถิ่น, การจัดงานพันธกิจและกระบวนการการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ด้วย
|
MN 402 การเป็นที่ปรึกษา (Counseling) |
|
การศึกษาหลักการพื้นฐานและวิธีการต่างๆ ตลอดจนการฝึกฝนทักษะเบื้องต้นในการให้คำปรึกษาที่สอดคล้องกับหลักการของพระคริสตธรรมคัมภีร์ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อวิธีการใช้พระคริสตธรรมคัมภีร์อย่างมีประสิทธิภาพ ในการให้คำปรึกษา การพัฒนาชีวิตของที่ปรึกษาเองและการให้คำปรึกษาในสถานการณ์ปัญหาชนิดต่างๆ
|
*MN 404/524 หลักการพัฒนาผู้นำ (Leadership Development) |
|
การศึกษาปรัชญาและหลักการเป็นผู้นำที่สอดคล้องกับพระคริสตธรรมคัมภีร์ เพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่นขึ้นสู่การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องลีลาการเป็นผู้นำ การสร้างและพัฒนาทีมงาน การแก้ปัญหาและความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนการพัฒนาทักษะในด้านมนุษยสัมพันธ์
|
*MN 406/506 การเพิ่มพูนคริสตจักร (Church Planting and Growth) |
|
การศึกษาหลักการและกระบวนการในการก่อตั้งคริสตจักรใหม่ และการช่วยให้คริสตจักรดังกล่าวเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง และสมดุลทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการพิจารณายุทธวิธีต่างๆ ในการประกาศ , การติดตามผลอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระทั่งการเปิด, การบริหาร, การฝึกบุคลากรและการขยายกลุ่มเซลล์
|
MN 534 มิชชั่นในเอเชีย (Missions in Asian) |
|
การศึกษาถึงหลักการพื้นฐานทางพระคัมภีร์เกี่ยวกับงานมิชชั่น เพื่อเข้าใจถึงพระประสงค์และแผนการของพระเจ้าสำหรับงานมิชชั่น ความสำคัญของการที่คริสเตียนต้องมีความรับผิดชอบในการประกาศต่อโลก ถ้อยคำที่จะประกาศในงานมิชชั่น การศึกษาถึงการเตรียมตัวในการเป็นมิชชันนารี การประกาศและเข้าถึงประชาชนในท้องถิ่นที่เข้าไปประกาศ ความสำคัญในการประกาศแก่คนยากจนและหลงหาย ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศต่างๆในเอเชีย การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม งานที่มิชชันนารีควรทำเมื่อเข้าสู่ประเทศนั้นๆ การวิเคราะห์ความสำเร็จ และความล้มเหลวของมิชชันนารีที่ไปประเทศทางเอเชีย โดยมุ่งประเด็นไปสู่การนำไปประยุกต์ใช้ในการเป็นมิชชันนารีในเอเชีย เนื้อหาจะรวมไปถึงการศึกษาชีวิตมิชชันนารีผู้บุกเบิก และงานการบุกเบิก, ชีวิตของมิชชันนารีอื่นๆ และงานมิชชั่นในประเทศต่างๆ ของเอเชีย
|
MN 511 การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) |
|
ความขัดแย้งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น ถ้าหากขาดความเข้าใจในการเผชิญกับความขัดแย้งและแก้ไขความขัดแย้งอย่างเหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาความบาดบางใจ ความแตกแยก และการเป็นศัตรูกัน ซึ่งจะทำลายความสัมพันธ์ที่ดี ทำลายบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันด้วยความรักความสามัคคี การทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็งจะเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าหากคนที่เป็นผู้นำไม่เข้าใจวิธีการในการจัดการกับความขัดแย้งอย่างเหมาะสม ดังนั้นการบริหารความขัดแย้งได้ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น และทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น นำไปสู่การทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้นกว่าเดิม
|
MN 512 ปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม (Group Dynamics) |
|
ความขัดแย้งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น ถ้าหากขาดความเข้าใจในการเผชิญกับความขัดแย้งและแก้ไขความขัดแย้งอย่างเหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาความบาดบางใจ ความแตกแยก และการเป็นศัตรูกัน ซึ่งจะทำลายความสัมพันธ์ที่ดี ทำลายบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันด้วยความรักความสามัคคี การทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็งจะเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าหากคนที่เป็นผู้นำไม่เข้าใจวิธีการในการจัดการกับความขัดแย้งอย่างเหมาะสม ดังนั้นการบริหารความขัดแย้งได้ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น และทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น นำไปสู่การทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้นกว่าเดิม
|
MN 601 บทบาทสตรีต่อคริสตจักร (Women in Ministry) |
|
การศึกษาบทบาทของสตรีที่มีต่อคริสตจักร และพันธกิจของพระเจ้า โดยวางพื้นฐานอยู่บนหลักคำสอนของพระคริสตธรรมคัมภีร์ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและความต้องการของสตรีแต่ละวัย และการทำงานอย่างเกิดผลกับพวกเขา เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถรับใช้พระเจ้าอย่างมีประสิทธิภาพได้
|
*MN 603/503 พันธกิจในเมืองใหญ่ (Urban Ministry) |
|
การศึกษาหลักการและวิธีการทำงานในเมืองใหญ่อย่างเกิดผล โดยวางพื้นฐานอยู่บนหลักการของพระคริสตธรรมคัมภีร์ วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเรื่องลักษณะและความสำคัญของเมืองใหญ่ ปัญหาของเมืองใหญ่ ตลอดจนยุทธศาสตร์ในการทำงานในเมืองใหญ่อย่างครบวงจร
|
MN 605 การทำงานต่างวัฒนธรรม (Cross-Cultural Ministry) |
|
การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของวัฒนธรรมต่อการทำงานด้านพันธกิจ และการสื่อสารพระกิตติคุณ ตลอดจนวิธีการใช้วัฒนธรรมมาเป็นประโยชน์ในการทำพันธกิจ (contextualization) นักศึกษาจะมีโอกาสได้มีประสบการณ์ต่างวัฒนธรรมด้วยตนเองด้วย
|
MN 607 พันธกิจโลก (World Missions) |
|
การศึกษางานพันธกิจของคริสตจักร ที่มีต่อโลกในวงกว้างทั้งในแง่คำสอนของพระคริสตธรรมคัมภีร์, ศาสนศาสตร์, ประวัติศาสตร์ และยุทธวิธีเพื่อค้นหาบทเรียน และทิศทางในการทำงานพันธกิจในศตวรรษที่ 21 วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่องานพันธกิจที่ริเริ่มขึ้น และดำเนินการโดยคริสตจักรในเอเชีย
|
*MN 608/508 สาวกสัมพันธ์ (Mentoring) |
|
การสร้างสาวกเป็นพระมหาบัญชาของพระเยซูคริสต์ พระองค์เองเป็นแบบอย่างของการสร้างสาวก โดยเน้นการใช้ชีวิตร่วมกัน ความใกล้ชิด การถ่ายทอดลักษณะชีวิต วิชาสาวกสัมพันธ์จะกล่าวถึงองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสาวกแบบกลุ่มย่อยและแบบตัวต่อตัว ลักษณะของการเสริมสร้างแบบต่างๆ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งองค์ประกอบที่จะทำให้ผู้ที่ถูกพัฒนาเป็นผู้นำได้จบการรับใช้ลงด้วยดี
การเรียนวิชานี้ ผู้เรียนจะเข้าใจถึงกระบวนต่างๆ ของการสร้างสาวก และความหลากหลายของรูปแบบในการเสริมสร้างผู้อื่น ตั้งแต่เป็นผู้เชื่อใหม่จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ฝ่ายจิตวิญญาณ เป็นผู้นำผู้รับใช้ที่เข้มแข็งในคริสตจักร หลักการที่เรียนรู้สามารถใช้ได้กับทุกวัฒนธรรม เพียงแต่ผู้เรียนต้องคิดค้นวิธีการที่เหมาะสมในการใช้เพื่อให้เกิดผลสูงสุดในแต่ละสถานการณ์
|
*MN 608/508 สาวกสัมพันธ์ (Mentoring) |
|
การสร้างสาวกเป็นพระมหาบัญชาของพระเยซูคริสต์ พระองค์เองเป็นแบบอย่างของการสร้างสาวก โดยเน้นการใช้ชีวิตร่วมกัน ความใกล้ชิด การถ่ายทอดลักษณะชีวิต วิชาสาวกสัมพันธ์จะกล่าวถึงองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสาวกแบบกลุ่มย่อยและแบบตัวต่อตัว ลักษณะของการเสริมสร้างแบบต่างๆ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งองค์ประกอบที่จะทำให้ผู้ที่ถูกพัฒนาเป็นผู้นำได้จบการรับใช้ลงด้วยดี
การเรียนวิชานี้ ผู้เรียนจะเข้าใจถึงกระบวนต่างๆ ของการสร้างสาวก และความหลากหลายของรูปแบบในการเสริมสร้างผู้อื่น ตั้งแต่เป็นผู้เชื่อใหม่จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ฝ่ายจิตวิญญาณ เป็นผู้นำผู้รับใช้ที่เข้มแข็งในคริสตจักร หลักการที่เรียนรู้สามารถใช้ได้กับทุกวัฒนธรรม เพียงแต่ผู้เรียนต้องคิดค้นวิธีการที่เหมาะสมในการใช้เพื่อให้เกิดผลสูงสุดในแต่ละสถานการณ์
|
*MN 609/509 คริสตจักรและการพัฒนาสังคม (The Church and Social Development) |
|
การศึกษาบทบาทของคริสตจักรต่อการทำงานด้านพัฒนาสังคม ทั้งในแง่ของคำสอนของพระคริสตธรรมคัมภีร์ และในแง่ของประวัติศาสตร์ เพื่อค้นหายุทธวิธีที่เหมาะสมในการทำพันธกิจด้านนี้ในสังคมไทยในปัจจุบัน วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องความรับผิดชอบของคริสตจักรต่อสังคม, การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรคริสเตียนและคริสตจักร ตลอดจนแนวทางต่างๆที่คริสตจักรสามารถสนองตอบต่อความต้องการของสังคมได้
|
MN 610 การใช้สื่อการแสดงในคริสตจักร (Christian Drama) |
|
เป็นการศึกษาการใช้สื่อการแสดงละครเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น การแสดงละครเวที, ละครวิทยุ และละครโทรทัศน์ โดยยึดเนื้อหาหรือบทละครจากการประยุกต์พระคริสตธรรมคัมภีร์ วิชานี้จะศึกษาความหมายของละคร, ประเภทของละคร, จุดประสงค์ของการแสดง, คุณสมบัติของนักแสดง และภาคปฏิบัติการฝึกซ้อมการแสดงละคร
|
MN 613 หลักการสื่อสารคริสเตียน (Christian Communication) |
|
ศึกษาถึงความหมายหลักและวิธีการสื่อสารที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสำหรับผู้นำคริสตจักรเพื่อประโยชน์ในการเทศน์ การสอน และการให้คำปรึกษาแก่สมาชิก การประกาศและการเลี้ยงดูจิตวิญญาณโดยการใช้สื่อต่างๆ เช่น ละคร วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ บทความและสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
|
|
หมวดคริสเตียนศึกษา (Christian)
|
CE 102 คริสเตียนศึกษาเบื้องต้น (Introduction to Christian Education) |
|
การศึกษาถึงความหมาย ประวัติความเป็นมา ขอบเขตและการบริหารงานด้านคริสเตียนศึกษาในบริบทของคริสตจักรท้องถิ่นในประเทศไทย วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องบทบาท และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายคริสเตียนศึกษา การจัดระบบการสอนในคริสตจักรอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการฝึกอบรมบุคลากรที่จะร่วมรับใช้ในด้านนี้
|
CE 202 หลักและวิธีการสอน (Principles of Teaching) |
|
การศึกษาถึงปรัชญาและทฤษฎีการสอนซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการแห่งการสื่อสารและการเรียนรู้ วิชานี้จะให้ความสนใจในการทำความคุ้นเคยกับเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ในการสอนคนในวัยต่าง ๆ กัน ซึ่งจะเป็นแนวทางให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ นักศึกษาจะมีโอกาสได้เตรียมการสอน และฝึกสอนจริงภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ผู้สอนด้วย
|
CE 601 คริสเตียนศึกษาเยาวชน (Christian Education for Youth) |
|
การศึกษาถึงการพัฒนาการและความต้องการของเยาวชน เพื่อวางพื้นฐานในการทำงานด้านคริสเตียนศึกษากับพวกเขาอย่างเกิดผล วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเรื่องวิธีการสอน การใช้สื่อการสอนและการสร้างกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของเยาวชน เพื่อนำพวกเขามาถึงความเชื่อและการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมในวัยเดียวกันกับพวกเขา
|
CE 603 คริสเตียนศึกษาครอบครัว (Christian Education for Family) |
|
การศึกษาถึงความหมายและลักษณะของครอบครัวประเภทต่าง ๆ ในสังคมไทย เพื่อวางพื้นฐานในการทำงานด้านคริสเตียนศึกษากับพวกเขาอย่างเกิดผล วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคริสตจักรและครอบครัว ตลอดจนกระทั่งบทบาทที่คริสเตียนศึกษาสามารถมีต่อครอบครัวได้
|
CE 605 คริสเตียนศึกษาผู้ใหญ่ (Christian Education for Adults) |
|
การศึกษาถึงความต้องการ ความสนใจและการพัฒนาการของผู้ใหญ่วัยต่างๆ เพื่อวางพื้นฐานในการทำงานด้านคริสเตียนศึกษากับพวกเขาอย่างเกิดผล วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องบทบาทของผู้ใหญ่ในคริสตจักร และหลักการทำงานกับผู้ใหญ่ทั้งในด้านการนมัสการ การประกาศ การรับใช้และการศึกษา พระวจนะ
|
CE 607 การจัดหลักสูตร (Curriculum Developments) |
|
วิชานี้จะให้โอกาสแก่นักศึกษาในการสำรวจ และการพิจารณาหลักสูตรประเภทต่างๆที่มีอยู่ในชุมชนคริสเตียนในประเทศไทย เพื่อช่วยให้นักศึกษาเห็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรต่างๆ อย่างเหมาะสมในงานรับใช้ของพวกเขา
|
|
หมวดประวัติศาสตร์ (History)
|
HI 202 ประวัติศาสตร์คริสตจักรสากล (General Church History) |
|
การศึกษาประวัติศาสตร์ของคริสตจักรอย่างกว้างๆ ตั้งแต่สมัยอัครทูตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษาคุ้นเคยกับเหตุการณ์ , บุคคลและขบวนการสำคัญต่างๆ และเรียนรู้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของบรรพชนแห่งความเชื่อ
|
HI 402 ประวัติศาสตร์คริสตจักรไทย (Thai Church History) |
|
การศึกษาประวัติศาสตร์ของคริสตจักรโปรแตสแตนท์ในประเทศไตั้งแต่ คศ. 1828 จนถึงปัจจุบันในเชิงวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาต่างๆ ที่คริสตจักรไทยได้ประสบ และวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น นักศึกษาจะทำความคุ้นเคยกับเหตุการณ์, บุคคล และขบวนการสำคัญต่างๆ และเรียนรู้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของบรรพชนของคริสตจักรไทย
|
HI 404 ประวัติศาสตร์เพ็นเทคอส (History of Pentecostal Movement) |
|
การศึกษาประวัติศาสตร์ของขบวนการเพ็นเทคอสในศตวรรษที่ 20 เพื่อให้นักศึกษาคุ้นเคยกับเหตุการณ์ บุคคลสำคัญและการขยายตัวของคริสตจักรในเครือเพ็นเทคอส และเรียนรู้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของบรรพชนแห่งความเชื่อเหล่านี้ วิชานี้จะให้ความสนใจในการเปรียบเทียบขบวนการเพ็นเทคอสกับขบวนการแคริสเมติก และขบวนการคลื่นลูกที่สามด้วย
|
HI 601 ประวัติศาสตร์งานพันธกิจ (History of Missions) |
|
การศึกษาประวัติศาสตร์ของการทำงานด้านพันธกิจ ตั้งแต่สมัยของ อัครทูตมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษาคุ้นเคยกับเหตุการณ์, บุคคลสำคัญ และขบวนการสำคัญต่างๆ ตลอดจนยุทธวิธีที่พวกเขาใช้ในการทำงานพันธกิจ และเรียนรู้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของพวกเขา
|
HI 603 วิชาพิเศษ |
|
ในบางโอกาส พ.พ.ท. อาจจัดให้มีการสอนวิชาบางอย่างที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการรับใช้ของนักศึกษา โดยวิชาเหล่านั้นไม่ปรากฏอยู่ในหลักสูตรหมวดประวัติศาสตร์ วิชาต่างๆ ที่มีการจัดสอนในลักษณะนี้จะต้องถือปฏิบัติตามระเบียบด้านวิชาการของ พ.พ.ท. อย่างเคร่งครัดทุกประการ
|
|
หมวดการศึกษาทั่วไป (General Education)
|
GE 102 ทักษะการพูดและการเขียน (Speaking and Writing Skills) |
|
การศึกษาหลักการสื่อสารด้วยการพูด และการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นที่การจัดระเบียบเนื้อหา การให้เหตุผลอย่างถูกต้องเหมาะสม และการนำเสนอ วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องมารยาทในการเข้าสังคม , การพูดในที่สาธารณะในโอกาสต่างๆ และการเขียนบทความประเภทต่างๆ นักศึกษาจะมีโอกาสได้นำเสนอภายใต้การแนะนำและการประเมินผลของอาจารย์ผู้สอนด้วย
|
GE 104 ทักษะการศึกษาเบื้องต้น (Basic Study Skills) |
|
การศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะต่างๆที่จำเป็นต่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพในสถาบันพระคริสตธรรม วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องการบริหารเวลาส่วนตัว , การพัฒนาความสามารถในการอ่าน , การใช้ห้องสมุดอย่างมีประสิทธิภาพ , วิธีการทำข้อสอบประเภทต่างๆ การจดคำบรรยายในชั้นเรียน ตลอดจนวิธีทำสรุปเนื้อหา , การทำวิจารณ์เนื้อหา และการทำภาคนิพนธ์
|
GE 106 ทฤษฎีดนตรี (Rudiments of Music) |
|
การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่านโน้ตดนตรี จังหวะและเครื่องหมายดนตรีต่างๆ นักศึกษาจะมีโอกาสได้ฝึกทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้วย
|
GE 108 ภาษาอังกฤษ 1 (English I) |
|
การศึกษาภาษาอังกฤษในฐานะที่เป็นภาษาที่สอง โดยมุ่งที่จะพัฒนาความสามารถเบื้องต้นของนักศึกษาในการพูด,การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมถึงการพัฒนาคำศัพท์,ไวยากรณ์,สำนวนและความคุ้นเคยกับศัพท์ทางพระคัมภีร์และศาสนศาสตร์
|
GE 110 ภาษาอังกฤษ 2 (English 2) |
|
การศึกษาภาษาอังกฤษในฐานะที่เป็นภาษาที่สอง โดยมุ่งที่จะพัฒนาความสามารถเบื้องต้นของนักศึกษาในการพูด,การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมถึงการพัฒนาคำศัพท์,ไวยากรณ์,สำนวนและความคุ้นเคยกับศัพท์ทางพระคัมภีร์และศาสนศาสตร์
|
GE 302 จิตวิทยาเบื้องต้น (General Psychology) |
|
การศึกษาการค้นพบที่สำคัญในจิตวิทยาแขนงต่างๆ เพื่อช่วยนักศึกษาให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น วิชานี้จะให้ความสนใจต่อเรื่องการพัฒนาสู่ความมีวุฒิภาวะ, การพัฒนาบุคลิกภาพ, การจัดการกับความกดดันทางจิต และความเครียดโดยจะเน้นทัศนคติและมุมมองของพระคริสตธรรมคัมภีร์เป็นพื้นฐาน
|
*GE 402/502 ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religions) |
|
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบในเรื่องประวัติความเป็นมา, คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์, ผู้นำสถาบัน, หลักความเชื่อ, ศาสนปฎิบัติ และอิทธิพลต่อสังคม ระหว่างศาสนา คริสเตียนและศาสนาต่างๆที่มีอยู่ในสังคมไทยในปัจจุบัน วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษ ต่อการค้นหาแนวทางที่เหมาะสม ในการนำเสนอพระกิตติคุณแก่คนที่นับถือศาสนาเหล่านี้
|
GE 601 ปรัชญาเบื้องต้น (Introduction to Philosophy) |
|
การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาตะวันออก และปรัชญาตะวันตกประเภทต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถสร้างกรอบอ้างอิงในการวิเคราะห์เมื่อพบเห็นในงานรับใช้ได้
|
GE 603 จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) |
|
การศึกษาทฤษฎี และหลักการทางจิตวิทยาเกี่ยวกับกระบวนการในการเรียนรู้ของมนุษย์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในบริบทของคริสตจักร วิชานี้จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเรื่องความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมมนุษย์ อันนำมาซึ่งการเรียนรู้ในด้านความเข้าใจ ทักษะ ท่าที และการพัฒนาการทางด้านศีลธรรมและความเชื่อ
|
GE 605-617 ดนตรีภาคปฏิบัติ 1-7 (Applied Music 1-7 ) |
|
นักศึกษาจะเลือกเรียนวิธีการเล่นกีตาร์ เปียโนหรือเครื่องเป่าด้วยความเห็นชอบจากฝ่ายวิชาการ โดยจะเรียนเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นระยะ เวลาอย่างน้อย 2 ภาคการศึกษา ในแต่ละสัปดาห์อาจารย์ผู้สอนจะสอนนักศึกษาแต่ละคนเป็นเวลาประมาณ 20 นาที และนักศึกษาแต่ละคนจะต้องฝึกหัดตามบทเรียนที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดให้เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
|
GE 619-631 คณะนักร้องประสานเสียง 1-7 (Choir 1-7 ) |
|
นักศึกษาจะฝึกหัดการร้องเพลงประสานเสียงเป็นหมู่คณะ ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ผู้สอน โดยจะฝึกหัดทักษะในการอ่านโน้ตดนตรี การฟังเสียงซึ่งกันและกัน การเปล่งเสียงอย่างถูกต้อง ตลอดจนทักษะอื่นๆ ซึ่งจำเป็นต่อคณะนักร้อง ในแต่ละสัปดาห์ อาจารย์ผู้สอนจะสอนนักศึกษาเป็นเวลา 100 นาที และนักศึกษาแต่ละคนจะต้องฝึกหัดร้องเพลงด้วยตนเองตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดให้เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
|
GE 633 วิชาพิเศษ |
|
ในบางโอกาส พ.พ.ท.อาจจัดให้มีการสอนวิชาบางอย่างที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการรับใช้ของนักศึกษา โดยวิชาเหล่านั้นไม่ปรากฏอยู่ในหลักสูตรหมวดการศึกษาทั่วไป วิชาต่างๆ ที่มีการจัดสอนในลักษณะนี้จะต้องถือปฏิบัติตามระเบียบด้านวิชาการของ พ.พ.ท. อย่างเคร่งครัดทุกประการ
|
|
หมวดประสบการณ์การรับใช้ (General Education)
|
PE 102 – PE 404 ภาคสนาม (Field Education 1-8) |
|
นักศึกษาแต่ละคนจะรับใช้ในคริสตจักรท้องถิ่นในช่วงสุดสัปดาห์ ด้วยการรับผิดชอบงานประจำบางอย่างที่ผู้นำของคริสตจักรมอบหมายให้ โดยประสานงานกับอาจารย์ฝ่ายภาคสนามของ พ.พ.ท. นักศึกษาแต่ละคนจะต้องส่งรายงานการฝึกภาคสนามทุกสัปดาห์ และขอคำปรึกษาจากอาจารย์ฝ่ายภาคสนามเมื่อประสบปัญหาในการฝึกงานขึ้น ตามปกติแล้วนักศึกษาควรจะฝึกงานในคริสตจักรเดียวกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาติดต่อกัน
|
PE 502 การฝึกงานระยะยาว (Internship) |
|
นักศึกษาแต่ละคนที่สำเร็จการศึกษาวิชาต่างๆ ที่ต้องเรียนใน พ.พ.ท. แล้วจะลงฝึกงานภายใต้การดูแลของศิษยาภิบาล และ/หรือ คณะธรรมกิจในคริสตจักรท้องถิ่นแห่งหนึ่งเป็นเวลา 9 เดือน นักศึกษาฝึกงานดังกล่าวจะต้องให้ความร่วมมืออย่างดีกับศิษยาภิบาล อีกทั้งต้องดำเนินชีวิตที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย นอกจาก นั้น เขาจะต้องส่งรายงานการปฏิบัติงานเข้าไปยังสถาบันฯ ตามรูปแบบที่ พ.พ.ท. กำหนดไว้เดือนละครั้ง อีกทั้งจะต้องเดินทางเข้าสู่ พ.พ.ท. 1 ครั้งในระหว่างการฝึกงานตามวัน เวลาที่ พ.พ.ท. กำหนดเพื่อการประเมินผลและการแบ่งปันทักษะต่อกัน เมื่อถึงเดือนสุดท้ายของการฝึกงานระยะยาว นักศึกษาจะต้องเขียนรายงานเรื่องปรัชญาการรับใช้ของข้าพเจ้า อันจะเป็นบทสรุปแนวความคิดเกี่ยวกับการรับใช้จากสิ่งที่เขาได้เรียนและประสบตลอดระยะเวลา 5 ปีของการเป็นนักศึกษา
|
|
หมวดวิชาเสริม (Supplementary Studies)
|
วิชาเสริมหมายถึงวิชาพิเศษที่เปิดสอนเฉพาะสำหรับนักศึกษาที่มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยในแต่ละภาคตั้งแต่ 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปและมีจำนวนผู้สนใจลงเรียนมากเพียงพอ อีกทั้งสถานการณ์ของภาคการศึกษานั้นๆ เอื้ออำนวยให้สามารถเปิดสอนได้
|
SS 601 ภาษาอังกฤษ 3 (English 3) |
|
การศึกษาภาษาอังกฤษในฐานะที่เป็นภาษาที่สอง โดยมุ่งที่จะพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการพูด การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมถึงการพัฒนาคำศัพท์ ไวยากรณ์ สำนวนและความคุ้นเคยกับศัพท์ทางพระคัมภีร์และศาสนศาสตร์ (นักศึกษาที่จะลงเรียนในวิชานี้จะต้องมีผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 1-2 เฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์)
|
SS 602 ภาษาอังกฤษ 4 ( English 4) |
|
การศึกษาภาษาอังกฤษในฐานะที่เป็นภาษาที่สอง โดยมุ่งที่จะพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการพูด การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมถึงการพัฒนาคำศัพท์ ไวยากรณ์ สำนวนและความคุ้นเคยกับศัพท์ทางพระคัมภีร์และศาสนศาสตร์ (นักศึกษาที่จะลงเรียนในวิชานี้จะต้องมีผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 1-2 เฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์)
|
SS 603 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) |
|
การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และการนำมาใช้ประโยชน์ในการทำรายงานและในงานคริสตจักร เนื้อหาของ วิชาจะครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้วย
|
|
Pingback: bangla choti golpo
Pingback: oral cumshot
Pingback: bangla sex story
Pingback: Free Gifts
Pingback: antarvasna
Pingback: verify paypal
Pingback: antarvasna
Pingback: sunny leone
Pingback: naked celebs
Pingback: sexy girl
Pingback: thai sex story
Pingback: قصص جنس